November 6, 2007

โลกาภิวัฒน์ โลกาพินาศ



by KaaMMITtaa.

คำนำ


…….. เรื่อง “โลกาภิวัฒน์ โลกาพินาศ” เป็นบทความที่ได้เขียนขึ้น เมื่อ ปี พ.ศ.2520 ในขณะที่ได้มีส่วนเขียนบทความ ที่เกี่ยวกับ ข้อคิด ความเห็น ทางด้านสังคมจิตวิทยา การเมือง ในฐานะเป็นกองบรรณาธิการฝ่ายวิชาการคนหนึ่ง ในนิตยสาร 100 วัตต์ เขียนบทความลงเป็นประจำทุกสองเดือน ซึ่งขณะนั้น ผู้เขียนพร้อมกับนักวิทยุสมัครเล่นย่านฝั่งธนฯกลุ่มหนึ่ง ได้ช่วยรณรงค์ให้มีการเปลี่ยนแปลง กฎ ระเบียบ ที่ใช้ควบคุมกิจการวิทยุสมัครเล่นในสมัยนั้น โดยที่ผู้เขียนมีหน้าที่เขียนบทความ ลงในหนังสือพิมพ์ มติชน และหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ แสดงความคิดเห็นคัดค้าน กฎ ระเบียบ ที่ออกมาควบคุมการซื้อ การมี และการใช้ วิทยุสื่อสารมากเกินไป โดยอนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะในหน่วยงานราชการฝ่ายเดียวเท่านั้น ทำให้ประชาชนอย่างสมาชืกนักวิทยุสมัครเล่น และผู้ที่ อาสาสมัครเข้ามาช่วยเหลือสังคมร่วมกับหน่วยราชการ ไม่สามารถนำวิทยุสื่อสารมาใช้งานเพื่อประโยชน์ในสังคมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การควบคุมการใช้วิทยุสื่อสารในยุคนั้น เพราะรัฐบาลกลัว ภัยจากคอมมิวนิสต์ มากเกินไป

………. การใช้วิทยุสื่อสารของประเทศไทยในยุคเผด็จการ(สมัยนั้น) การออกกฎหมายเป็นเรื่องที่ล้าหลังสุดขั้ว หากจะเปรียบเทียบ ความเจริญด้านอุปกรณ์การสื่อสาร ซึ่งเริ่มที่จะมีโทรศัพท์เคลื่อนที่เข้ามาใช้ในเมืองไทยแล้ว (ด้วยชนิด คลื่น 470 เม็กกะเฮิร์ต) แม้จะยังไม่แพร่หลายเนื่องจาก เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ยังมีราคาค่อนข้างแพง และโครงข่ายสัญญาณก็ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ทั้งนี้ก็เพราะนโยบาย กับการออกกฏหมาย ควบคุม ปิดกั้น การเข้าถึงและการนำไปใช้ประโยชน์มากเกินไปจนเป็นอุปสรรค ในการพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อกิจกรรมต่างๆในสังคม แต่เมื่อมีการเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาลงทุน และให้มีการแข่งขันกันราคาค่าเครื่องกับอัตราค่าโทรกลับถูกลงจนทุกคนสามารถเข้าถึงและสามารถใช้สิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างกว้างขวาง แต่แน่นอนทุกอย่างเสมือนเหรียญที่มีสองด้านเสมอ คือเมื่อมันประโยชน์มันก็ต้องมีโทษ ดังนั้นที่ถูก ที่ควรจะทำ คู่ขนานกันไปก็คือ การสร้าง กฏ ระเบียบ วินัย และจรรยาบรรณของคน ในการใช้สิ่งเหล่านี้ต่างหาก
ดังนี้ หากจะเปรียบเทียบ อันตรายที่จะเกิดจากความมั่นคงของรัฐ ระหว่างการใช้วิทยุสื่อสาร กับ การใช้โทรศัพท์มือถืออย่างไหนจะเป็นอันตรายมากกว่ากัน ภัยที่น่ากลัวน่าจะเป็นภัยที่เกิดจากการอนุญาตให้มี ให้ใช้โทรศัพท์เคลือนที่มากกว่าภัยที่เกิดจากการใช้วิทยุสื่อสาร เพราะการใช้วิทยุสื่อสารสามารถดักฟังได้ง่าย การตรวจสอบ ติดตามการใช้คลื่นความถี่ก็สามารถทำได้ง่ายกว่า ส่วนโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถสื่อสารกันในระหว่างเครื่องต่อเครื่องเท่านั้น ไม่สามารถดักฟังได้ ส่วนวิทยุสื่อสาร สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในสังคมทางด้านต่างๆได้อย่างมากมายมหาศาล เช่น การก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ การถ่ายทำภาพยนตร์ การใช้ประสานงาน การบรรเทาภัยพิบัติและ กิจกรรมต่างๆมากมาย ส่วนโทษที่อาจจะเกิดขึ้น รัฐฯสามารถใช้กลไก และมีเครื่องมือที่ทันสมัยเข้าติดตาม ตรวจสอบการใช้งานได้อยู่แล้ว ดังนั้นการมี กฎ ระเบียบ ที่ควบคุมการใช้วิทยุสื่อสาร ในกิจการวิทยุสมัครเล่น จึงเป็นเรื่องที่ ตลก จนกระทั่งต่อมา กรมไปรษณีย์โทรเลขได้แก้ไข และเปิดโอกาสให้มีการนำเข้าวิทยุสื่อสารชนิดมือถือ จำหน่าย ซื้อ และใช้ได้อย่างกว้างขวาง จนบัดนี้

..........และลองมาพิจารณาดูว่าทุกวันนี้ยามเมื่อเกิดเหตุด่วนเหตุร้าย อุบัติเหตุ อุบัติภัย ไฟไหม้ น้ำท่วม แผ่นดินไหว หรือ ซึนามิ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตามท้องถนนหนทาง อาคารสถานที่ต่างๆ เราจะเห็นว่า เจ้าหน้าที่อาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัย สามารถเข้าถึงสถานที่เกิดเหตุ และปฏิบัติหน้าที่ ได้อย่างรวดเร็ว คล่องตัว กว่าเจ้าหน้าที่ของทางราชการที่เกี่ยวข้อง เกือบทุกครั้งอย่างที่เราเห็นๆกันอยู่ ไม่ใช่เพราะ การใช้วิทยุสื่อสารหรอกหรือ ...?

....ในขณะที่โลกวัตถุรอบตัวเรา ก้าวไปถึงไหนแล้วรัฐจะต้องเร่งรัดให้ความสำคัญด้านการศึกษา การให้ความรู้ ปลูกฝัง ด้านคุณธรรม จริยธรรมการให้ความสำคัญกับการการพัฒนาด้านจรรยาบรรณ และการให้ความรู้กับประชาชน ในเรื่องประโยชน์และโทษของสิ่งเหล่านี้ ให้เท่าทันกับความเจริญด้าน วิทยาศาสตร์และเท็คโนโลยี่ และหน้าที่ของรัฐอีกประการหนึ่งกคือ การพัฒนาขีดความสามารถของกลไกภาครัฐ ในการป้องกัน การเฝ้าระวัง และปราบปราม การนำเอาไปใช้งานในทางที่เป็นภัยต่อสังคม เสมือนโปลิศต้องมีหน้าที่ไล่จับขโมยให้ได้ฉันใดฉันนั้น อย่าบอกว่า นะ ว่าต้องให้ขโมยหยุดเพื่อให้โปลิศจับคงยาก ควบคู่ไปกับความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเท็คโนโลยี่ต่างๆที่กำลังเกิดขึ้น หลั่งไหลเข้ามา จนไม่สามารถปิดกั้นได้ อย่างไม่ขาดสาย เรากลับควบคุมการใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง การพัฒนาทางด้านวัตถุ เป็นเรื่องที่หยุดยั้งไม่ได้กับกระแสโลกาภิวัฒน์

....ถ้าจะว่าไป กระแสโลกาภิวัฒน์ ก็คงเป็นมีดคมสองคม นั่นแล ขึ้นอยู่กับว่า "ใคร" เป็นคนนำเอาไปใช้ เป็น "สุจริตชน" หรือเป็น "โสนทุจริตชน" ถามว่าเราจะห้ามมิให้ใครใช้ ได้หรือไม่ การออกกฏหมาย จะสามารถควบคุมได้ก็แต่ผู้ที่เคารพกฏหมาย(คนดี) ส่วน คนที่ไม่เคารพกฏหมาย (คนไม่ดี)เขาจะเคารพเชื่อฟังกฏหมาย นะหรือ คงยาก ดังเราเห็นได้ในสังคมยุคปัจจุบันอยู่แล้ว
กฏหมายเป็นเพียง ตัวหนังสือที่เขียนขึ้น เพื่อควบคุมคนมิให้กระทำความผิดเท่านั้น แต่กฏหมายไม่สามารถควบคุมจิตใจคนไม่ให้กระทำความผิดได้ หากว่าเขาจะกระทำ ด้วยแรงจูงใจจากสภาพแวดล้อมภายนอก หรือ ถูกกดดันจากสภาพจิตใจภายในตัวเขา ในยุคโลกาภิวัฒน์มนุษย์เรา หลงติดกับ กับกฏที่ตัวเองสร้าง ว่ากฏคือคำตอบของการแก้ปัญหา มนุษย์
.....มนุษย์สร้างสรรพสิ่งขึ้นมาในบรรพิภพ แล้วแล้วสรรพสิ่งที่มนุษย์สร้างก็กลายเป็นหลุมขวาก ดักมนุษย์ ให้ตกลงไปตายในหลุม
นั่นคือการถูกคมดาบที่หนึ่งที่มนุษย์เอามาเชือดเฉือนมนุษย์ด้วยกันเอง ส่วนดาบคมที่สองหากมนุษย์จักนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์จากคมดาบ เพื่อนมนุษย์ก็จักได้รับประโยชน์จากดาบคมนั้น ฉันใด ก็ฉันนั้น

........กระแสโลกาภิวัตน์ในช่วงนั้นเริ่มเห็นผลกระทบทางสังคมจิตวิทยาได้อย่างชัดเจนขึ้น ผู้เขียนจึงได้เขียนบทความเรื่อง “โลกาภิวัตน์ โลกาพินาศ” ขึ้น เพื่อชี้ให้เห็นถึงเหตุ และผลกระทบด้านลบ ของกระแสโลกาภิวัฒน์ ซึ่ง เป็นความจำแล้วที่เราจะต้องเร่งรีบ ส่งเสริม ด้านจรรยาบรรณ จริยธรรม คุณธรรม และจิตสำนึกสาธารณะ ในสังคมควบคู่ไปกับ วิทยาศาสตร์และเท็คโนโลยี่ แต่ปรากฏว่า ทุกวันนี้ เราเองกลับให้ความสำคัญแต่ความรู้ ทางด้านการพัฒนา ส่งเสริมการเรียนการสอน แสวงหา ไขว่คว้าดิ้นรน แข่งขัน การมี การใช้ด้านวิทยาศาสตร์และเท็คโนโลยี่ อย่างขนานใหญ่ แต่ตรงกันข้าม เรากลับเหินห่างลดความสำคัญ ทางด้านการเรียนการสอน คุณธรรม จริยธรรม และวิชาที่ว่าด้วยหน้าที่พลเมือง และศีลธรรม อย่างน่าเสียดาย แบบนี้ สังคมมันถึงได้ วิปริต แปรปรวน วุ่นวาย สับสน จิตใจเด็ก เยาวชน ผู้คนในยุคนี้ มันถึงได้ ดุดัน โหดเหี้ยม ปานสัตว์ป่า อย่างไร อย่างนั้น อย่างที่เราเห็น เป็นข่าวทุกวัน

......... ในขณะนั้น ปัญหาเรื่องโลกร้อน ยังไม่ฮิต สังคมยังไม่ให้ความสำคัญุถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างจริงจัง ข้อเขียนนี้ทางนิตยสารอาจจะไม่คาดคิดว่ามันจะเกิดขึ้น และอาจจะเกรงว่าจะทำให้ กระต่ายที่นอนหลับอยู่ ต้องพลอยสะดุ้งตื่นกลัวไปเปล่าๆ หรืออาจเข้าตำรา ยังไม่เห็นโลงศพ จึงยังไม่หลั่งน้ำตา ผู้เขียนจึงมิได้นำลง จนกระทั่งต้นฉบับได้สูญหายไป แต่ผู้เขียนยังได้ให้ความสนใจ เรื่องวิกฤติการณ์ของโลก และสภาวะสิ่งแวดล้อม อันเกิดจากความเจริญทางด้านวัตถุ เท็คโนโลยี่ และพฤติกรรมการบริโภค รวมทั้งการดำเนินชีวิตและการใช้ทรัพยากรของมนุษย์ที่ฟุ่มเฟือย ความเห็นแก่ตัวความละโมบของมนุษย์ ความก้าวร้าว รุนแรง ความขัดแย้งทางความคิด
ณ ขณะนี้ปัญหาเรื่องโลกร้อน การวิพากษ์กระแสโลกาภิวัฒน์ที่ส่งผลกระทบต่อโลกด้านลบ ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ที่ตระหนักถึง ปัญหา โลกวิปริต เป็นกระแสที่กำลังมาแรง ดังนั้นผู้เขียนจึงขออนุญาต ด้วยคารวะะจิต รวบรวม เรียบเรียง ข้อมูล บทความ หรือข้อเขียนต่างๆ เหล่านั้นเท่าที่จะทำได้ เพื่อเป็นอนุสติ สะกิดเตือนใจแก่มวลมนุษยชาติต่อไป


บทที่ 1.

………….นอกจากมนุษย์จะรุกรานธรรมชาติที่เราอาศัยอยู่ แล้ว มนุษย์ยัง รุกรานมนุษย์ด้วยกันเอง จึงส่งผลให้อุณหภูมิของโลกรอบตัว และอุณหภูมิความเร่าร้อนในจิตใจของมนุษย์เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย

. ........เรื่อง โลกร้อน เป็นเพียงกระแสการตื่นตัวของมนุษย์ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้นเอง ซึ่งพอมนุษย์เริ่มที่จะเคยชินกับสภาวะโลกร้อน เมื่อปรับตัวได้สักระยะหนึ่ง เราก็จะลืมเรื่องโลกร้อนทันที ไม่สนใจกับมัน ก็คงเหมือนกับกระแสความตื่นกลัว เรื่องน้ำท่วมโลก และเรื่อง สะเก็ดดาววิ่งชนโลกที่เคยเกิดขึ้นมาครั้งหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ แต่ใช่ว่า ภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นกับโลกใบนี้ จะหมดไปก็หาไม่ หากมันจะเพิ่มดีกรีของความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ หลังจากนั้นมันก็จะเงียบ และก็หยุดสงบนิ่งเหมือนกับว่า ไม่มีอะไรเกิดขึ้น มนุษย์ก็จะชาชินไปกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเหล่านี้ไปเอง อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ความตื่นกลัวนี้ บางทีกลับเป็นโอกาสให้มนุษย์หัวใส หัวการค้า ใช้เป็นช่องทางทำมาหากิน ถึงขนาดบางคนทำเป็นธุรกิจ การค้า หรืออาจถึงขั้นหลอกลวงประชาชนบนความวิบัติของมนุษย์ด้วยกันเอง และในที่สุดตนเองนั่นแหละก็คงหนีไม่พ้นชะตากรรมนี้เช่นกัน นี่แหละมนุษย์..!

……….. ต้นเหตุแห่งการเกิดปัญหาต่างๆเหล่านี้ ล้วนเกิดจาก การกระทำของมนุษย์แต่เพียงผู้เดียวทั้งสิ้น ดังนั้นหนทางแก้ไข ก็ต้องแก้ที่มนุษย์.......มนุษย์จะต้องหยุดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ มนุษย์จะต้องหยุดรุกรานธรรมชาติ นั่นคือต้องมีคำว่า “พอ” “พอดี” “พอเพียง” ต้องหยุดการบริโภคแบบตะกละตะกราม หยุดความโลภ หยุดการเสพความสุขความสะดวกสบาย อย่างบ้าคลั่งเสียที และหยุดการรณรงค์ แค่ลมปากเท่านั้น.

......ความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด หรือหยุดอยู่กับที่ ด้วยพลังของความอยากรู้ อยากเห็น อยากสะดวกสบาย อยากสนุกสนาน อยากอร่อย อยากสวยอยากงาม อยากร่ำอยากรวย ก็พยายามไขว่คว้าหา สรรสร้างสรรพสิ่งขึ้นมาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แน่นอนตามกฎของธรรมชาติ ไม่มีสิ่งใดที่เราจะได้มาโดยไม่ต้องสูญเสีย ดังนั้นสิ่งใดที่เราได้มันมา ก็ต้องมีสิ่งแลกเปลี่ยนให้ธรรมชาติ เป็นธรรมดา การสรรค์สร้างสรรพสิ่งของมนุษย์ล้วนแต่ต้องใช้ทรัพยากรต่างๆภายใต้พื้นปฐพีนี้ทั้งสิ้น ดิน น้ำ ลม และไฟ คือธาตุพื้นฐานบนโลกใบนี้ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ถูกรุกราน จะเกิดการสูญสียสมดุลย์ และแน่นอนธรรมชาติ ก็ย่อมต้องสะสมพลังเพื่อการรักษาความสมดุลย์ให้กลับคืนมา เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ ๆ ตราบเท่าที่มันถูกรุกราน ขุดคุ้ย ค้นหาประโยชน์จากมันนำมาใช้มากเท่าไร พลังที่มันสะสมเพื่อเอาคืนก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น เพียงแต่ว่ารอวัน เวลาและสถานะการณ์ที่เหมาะสมว่ามันจะมาถึงเมื่อไรเท่านั้นเอง



สัญญาณโลกาวินาศตามคติของศาสนาต่างๆ
องค์ศาสดาของทุกศาสนา ได้มีการทำนาย เรื่องความวิบัติของโลกทุกศาสนา เหมือนและตรงกันหมด เป็นความบังเอิญหรือไร? เพราะคำพยากรณ์ขององค์ศาสดาทุกพระองค์ บังเกิดเกิดขึ้นคนละมุมโลก ต่างกันด้วย ภูมิประเทศ ภาษา วัฒนธรรม
กิระดังได้ยินมา

ศาสนาพุทธ
จาก “พุทธทำนาย” ซึ่งถอดความจากศิลาจารึก เชตวันมหาวิหาร สวนมฤคทายวัน ประเทศอินเดีย กล่าวว่า " ดูก่อนอานนท์ เมื่อศาสนาตถาคตล่วงเลยไปถึงกึ่งพุทธกาล สัตว์โลกทั้งหลายที่เกิดในยุคนั้นจะพบความลำบากทุกชาติทุกศาสนา ตามธรรมชาติอันหมุนเวียนของโลก ที่หมุนไปใกล้ความแตกทำลาย แผ่นดินแผ่นน้ำจะลุกเป็นไฟ มนุษย์และสัตว์จะได้รับภัยพิบัติสารพัดทั่วทิศ "
.....ในศิลาจารึก นั้นยังบันทึก อีกว่า " คนในสมัยนั้น ( คือปัจจุบัน ) จะมีวิสัยโหดดุจกำเนิดจากสัตว์ป่าอำมหิต จะรบราฆ่าฟันกันถึงเลือดนองแผ่นดินแผ่นน้ำ ส่วนเวไนยสัตว์ผู้ขวนขวายในกุศลตามวัจนะของตถาคต ก็จะระงับร้อนไม่รุนแรง บ้านเมืองใดมีความเคารพยำเกรงในพระรัตนตรัยและคุณบิดามารดา เหตุร้ายภัยพิบัติจักเบาบาง แต่ก็จะหนีกฏธรรมชาติไม่พ้น

.....เริ่มแต่พระพุทธศาสนาล่วงเลย 2,500 ปีเป็นต้นไป ไฟจะลุกลามทางทิศตะวันออก ไหม้วัดวาอารามสมณะชีพราหมณ์จะอดอยากยากเข็ญ ลูกไฟจะตกจากฟ้าเป็นเพลิงผลาญ เหล็กกล้าจะทะยานจากน้ำ มหาสมุทรจะชอกช้ำ สงครามจะทั่วทิศ ศึกจะติดเมือง ทหารจะเป็นเจ้า ข้าวจะขาดแคลน ทั่วแคว้นจะอดอยาก ผีโขมดป่าจะเข้าเมือง พระเสื้อเมืองพระทรงเมืองจะหนีเข้าไพร ผู้เป็นใหญ่มีอำนาจจะเรียกแมลงผีเสื้อเหล็กนับแสนตัว มาปล่อยไข่เป็นไฟผลาญ ยักษ์หินที่ถูกสาบมาเป็นเวลานาน จะตื่นขึ้นมาอาละวาดโลก ดินฟ้าอากาศจะแปรปรวน ตลิ่งจะพัง แผ่นอธรรมจะถล่มเป็นทะเล โลกมนุษย์จะดิ่งสู่ความหายนะ นักปราชญ์จะถูกทำร้ายให้สิ้นสูญ

คำพยากรณ์ของศาสนาอิสลาม

อัลกุรอานเรียกโลกาวินาศว่า อัสสาอะหฺ นบีมุฮัมมัด ศาสดาแห่งอิสลามได้พยากรณ์สัญญาณของโลกาวินาศไว้ดังต่อไปนี้
ใน "อัล-กุรอ่าล ” บัญญัติไว้ ว่า ศรัทธาในวันพิพากษา

......ศาสนาอิสลามยอมรับในวันอวสานของโลกเช่นเดียวกับศาสนายิวและศาสนาคริสต์ ในวันนี้อัลลอฮ์จะเสด็จมายังโลกเพื่อ
พิพากษาการกระทำของมนุษย์ ความศรัทธาเช่นนี้จะช่วยให้มนุษย์ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท ระมัดระวังความชั่ว
ไม่ให้เกิดขึ้นและเพียรพยายามสร้างความดีให้เกิดขึ้นเรื่อย ๆ แม้นจะเหนื่อยยากปานใดต้องอดทนเพื่อโลกหน้าที่สมบูรณ์
และดีกว่าโลกนี้ โลกหน้าจึงเป็นผลมาจากการกระทำในโลกปัจจุบัน ชีวิตที่เกิดขึ้นในโลกหน้าหลังจากที่ได้รับการพิพากษา
แล้วจะเป็นชีวิตนิรันดร์ ส่วนผู้ที่กระทำความชั่ว สิ่งที่ตอบแทนคือ ไฟชำระและนรกภูมิ

......ชาวมุสลิมจึงไม่เผาศพ แต่นิยมฝังศพ เพื่อรอวันพิพากษาจากอัลลอฮ์และไม่นิยมลงโทษตนเองโดยการเผาตัวตาย เพราะว่าการเผาจะเกิดขึ้นครั้งเดียวเท่านั้นในวันพิพากษาโลกหรือวันกิยามะฮ์ มนุษย์ไม่มีสิทธิที่จะเผากันเองนอกจากพระเจ้าเท่านั้น เพราะ “ การลงโทษมนุษย์ด้วยไฟเป็นหน้าที่ของพระเจ้า มนุษย์ลงโทษมนุษย์ด้วยไฟไม่ได้ เพราะว่าการลงโทษด้วยไฟเป็นหน้าที่ของพระเจ้า ชาวมุสลิมเชื่อว่า โลกนี้เป็นเพียงสถานที่พักพิงชั่วคราว เป็นที่ทดสอบความภักดีที่มีต่ออัลเลาะห์ (ซุบฯ) เมื่อวันพิพากษามาถึงมนุษย์ทุกคนจะกลับมีชีวิตอีก เพื่อรับการพิพากษาขั้นสุดท้าย วันนั้น...ท้องฟ้าจะแตกเป็นเสี่ยงๆ ดาราในฟากฟ้าจะกระจุยกระจาย หลุมฝังศพทุกหลุมจะเปิดออก คนดีจะได้ขึ้นสวรรค์ คนเลวจะตกนรก และถูกเผาในวันพิพากษา”

คติวันโลกาวินาศของศาสนาคริสต์
พระเยซู (ปฐมกาล 7:21) พระเยซู (มัทธิว 24:37) และเปโตร (2 เปโตร 3:6-12)กล่าวว่า "บรรดาสัตว์ที่เคลื่อนไหวก็ตายสิ้น" ต่างได้เห็นการพิพากษาที่คล้ายคลึงกับการพิพากษาในยุคของโนอาห์ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อพระคริสต์เสด็จกลับมาอีกครั้ง ความชั่วร้ายของมนุษย์ในนานาชาติจะเข้าสู่สงคราม จะเกิดการกันดารอาหาร จะมีแผ่นดินไหวหลายแห่ง ทั้งจะเกิดโลกภัยไข้เจ็บแพร่ระบาด จะเกิดมีผู้พยากรณ์เท็จตามที่ต่าง ฯ ความรักของมนุษย์จะเย็นลง ผู้คนจะเห็นแก่ตัว,เห็นแก่เงิน,หมิ่นประมาทพระเจ้า,อกตัญญู,ไม่รักซึ่งกันและกัน,ดุร้าย,ไมมีไมตรีต่อกัน,มีธรรมะแต่ภายนอก,แต่ภายในปฏิเสธ. มนุษย์จะอยู่ด้วยความกลัว เพราะมืดมน ไม่รู้ทางออก. จะ มีผู้เผยแพร่พระวจนะของพระเจ้า แจ้งข่าวดีขณะที่ใกล้วันสิ้นโลก. จะมีการตกลงกันเพื่อสร้างสันติภาพ จะเกิดความทุกข์ลำบากครั้งใหญ่. การเมือง ศาสนา การค้าของโลกจะเข้าสู่ภาวะวิกฤต. และที่สุด ก็จะยุติลง โดยการทำลายล้าง ณ.อาร์มาเกดดอน. เฉพาะแต่คนชั่วจะถูกทำลาย แต่คนที่ผู้ที่เชื่อฟังพระวจนะจะรอด.
ยุคของโนอาห์ก็เหมือนกับความชั่วร้ายของโลกปัจจุบันซึ่งจะถูกพิพากษาเมื่อพระคริสต์เสด็จกลับมา

สิ่งบอกเหตุที่เป้นสัญญาณเตือนความวิบัติ

แต่ก่อนที่จะเกิด ความวิบัติ จะมีสัญญาณบอกเหตุ ซึ่งก็ทุกศาสนา ก็จะตรงกันหมด ก็คือ การที่มนุษย์กระทำสิ่งชั่วร้าย ไม่ดีงามเอง ฝืนคำสั่งสอนขององค์ศาสดา เริ่มทำบาป เสื่อมถอยทางจริยธรรม คุณธรรม จนในที่สุดมนุษย์ ก็จะถึงกาลวิบัติ

องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้กล่าวไว้ กับพระอานนท์
.....ในระยะนั้นศาสนาของตถาคตเสื่อมลงมาก เพราะพุทธบริษัทไม่ตั้งอยู่ในศีลธรรม เชื่อคำของคนโกง กล่าวคำเท็จไม่เคารพหลักธรรมนิยม คนประจบสอพลอได้รับการเชื่อถือในสังคม ผู้มีศีลธรรมประพฤติชอบกลับไม่มีใครเคารพยำเกรง พระธรรมจะเริ่มเปล่งแสงรัศมีฉายส่องโลกอีกวาระหนึ่งก็ต่อเมื่อมีธรรมิราชโพธิญาณบังเกิดขึ้นอยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเถระผู้ทรงธรรมฤทธิ์ ทั้งสองพระองค์สถิตย์ ณ เบื้องตะวันออกของมัชฌิมประเทศ จะเสด็จมาเสริมสร้างศาสนาของตถาคตให้รุ่งเรืองสืบไปถึง 5.000 พระวรรษา

......ดูก่อนอานนท์ เวลานั้นพลโลกเหลือน้อย คำทำนายของตถาคตนี้ย่อมยังเวไนยสัตว์ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ผู้ใดรู้แล้วไม่เชื่อ นับว่าเป็นกรรมของสัตว์โลกที่ต้องสิ้นสุดไปตามกรรมชั่วของตน

สัญญาณบอกเหตุที่ มีบัญญัติไว้ในคัมภีม์ อัลกุรอัล คือ

1. นมาซจะถูกถือเป็นเรื่องไม่สำคัญ
2. มนุษย์จะใช้ชีวิตโดยการตามฮาวานัฟซู กิเลสตัณหา
3. ทรัยพ์สมบัติจะถูกเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ จะเคารพนับถือทรัพย์สินเงินทอง
4. ศาสนาจะถูกขายไปเพื่อแลกกับดุนยา
5. ในสภาพต่าง ๆ เหล่านี้หัวใจของมุอ์มินจะแตกสลาย เหมือนกันการละลายของเกลือในน้ำ แต่ทำอะไรมิได้
6. ผู้ศรัทธาถูกทำให้ไร้ความสามารถ (พวกเขาเห็นถึงความชั่วต่าง ๆ ในสังคมแต่ทำสิ่งใดไม่ได้)
7. บรรดาผู้นำที่ชั่วช้าจะถูกนำมาปกครองประชาชน จะมีตัวแทนที่เป็นคนชั่วร้าย พวกทรยศกดขี่จะมาปกครองบ้านเมือง
8. และในวันนั้นสิ่งที่ชั่วช้าจะเปลี่ยนเป็นสิ่งที่ดี (เป็นสิ่งที่มนุษย์ถูกเชิญชวนให้ทำ) และคนที่ซื่อสัตย์จะถูกกล่าวหาว่าเชื่อถือไม่ได้
9. ผู้หญิงจะขึ้นมาครองเมือง
10. และหญิงที่เป็นทาสจะเป็นที่ปรึกษาทางการเมือง
11. บรรดาเด็กอ่อนหัดทั้งหลายจะขึ้นบนมิมบัร
12. การโกหกจะถือว่าเป็นศิลปะที่น่ายกย่อง
13. การจ่ายซะกาตจะถูกถือเหมือนกับหนี้สิน (จะจ่ายไปด้วยความยากลำบาก)
14. เงินต่าง ๆ ของกองคลังจะมีคนรุมแย่งกันเหมือนเป็นสินสงคราม
15. มนุษย์จะไม่ให้เกียรติบิดามารดาของตนเอง จะรักเพื่อนมากกว่าพ่อแม่
16. ดาวหางจะเกิดขึ้นอย่างมากมาย
17. ผู้หญิงจะเป็นที่ปรึกษาทางการค้าของสามี
18. ฝนจะตกในฤดูร้อน
19. คนดีจะถูกโกรธกริ้ว (สังคมจะเกลียดคนดี)
20. มนุษย์จะดูถูกคนจนคนลำบาก
21. ตลาดการค้าจะสร้างกันอย่างมากมาย
22. ในหมู่ผู้ค้าขายจะตำหนิพระองค์
23. จะมีผู้ปกครองกลุ่มหนึ่งปกครองประชาชน และเมื่อใครพูดคัดค้าน โทษคือความตายและถ้าเงียบเขาก็จะรุกรานทรัพย์สินและความบริสุทธิ์ต่าง ๆ ของประชาชน เพื่อจะทำให้ประชาชนอยู่ภายใต้การปกครองที่หวาดกลัว
24. ในวันใกล้สิ้นโลก จะมีสิ่งต่าง ๆ ที่มาจากทางทิศตะวันตกและตะวันออก และสิ่งเหล่านั้นจะใส่สีให้กับอุมมะห์ของฉัน (จะมามอมเมาประชาชาติไม่ว่าจะเป็นความคิด การเป็นอยู่ ฯลฯ)
25. เด็ก ๆ จะไม่ได้รับความเมตตา
26. ผู้ใหญ่ก็จะไม่ได้รับการให้เกียรติ (เช่น ความเป็นลุงป้า น้า อา สิ่งเหล่านี้ในอิสลามต้องให้เกียรติ)
27. คนที่ทำให้ผิดจะไม่ได้รับการให้อภัย (จะไม่มีความยอมความอลุ่มอล่วยไม่มีความเมตตาต่อกัน)
28. การพูดจาลามกมากมาย
29. ผู้ชายจะเพียงพอกับผู้ชาย (จะเกิดการรักร่วมเพศมากมาย)
30. ผู้หญิงจะเพียงพอกับผู้หญิง (จะเกิดเลสเบี้ยนมากมาย)
31. เด็กเล็ก ๆ จะถูกทำเป็นทาส
32. ผู้ชายจะทำตัวเป็นหญิง
33. ผู้หญิงจะทำตัวเป็นชาย (ทำตัวเป็นผู้ชายอกสามศอก ไม่ว่าจะเรื่องใด เช่นการแต่งตัวเลียนแบบชาย หรือมีนิสัยที่ห้าวหาญกระด้างกระเดื่องเยี่ยงชาย เป็นต้น)
34. ผู้หญิงจะขึ้นมาขี่บนอานม้า (ผู้ออกมาใช้พาหนะที่ไม่ใช่คุณลักษณะของผู้หญิง)
35. มัสยิดจะถูกประดับประดาด้วยทองคำ
36. และกุรอานจะถูกประดับประดาสวยงาม
37. หอคอยต่าง ๆ บนมัสยิดจะถูกทำให้สูงแข่งกัน
38. แถวนมาซจะเต็ม แต่ด้วยหัวใจที่โกรธเคียดแค้นชิงชังกัน (แตกแยกกัน)
39. บรรดาผู้ชายในประชาชาติของฉันจะใส่ทองคำ
40. ผู้ชายจะสวมอาภรณ์ผ้าไหม เสื้อยกเงินยกทอง
41. หนังเสือก็จะเอามาใช้มาคลุมกัน
42. ดอกเบี้ยจะเป็นที่แพร่กระจาย
43. จะทำการค้าขายด้วยการทรยศคดโกง หักหลัง ติฉินนินทาและให้สินบน
44. ศาสนาจะตกต่ำ ภาษาของดุนยาจะสูง (ไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องของศาสนา)
45. การหย่าร้างจะเกิดขึ้นมาก
46. กฎของอัลลอหฺไม่มีผู้ปฏิบัติ
47. นักร้องที่เป็นผู้หญิงจะเต็มโลก ดนตรีสิ่งบันเทิงเริงรมย์จะแพร่ขยาย
48. คนชั่วในประชาชาติของฉันจะขึ้นมาปกครองประชาชาติของฉัน
49. คนรวยจะไปทำฮัจญ์เพื่อพักผ่อน ส่วนคนชั้นกลางจะไปทำฮัจญ์เพื่อการค้าขาย และคนจนจะไปเพื่อโอ้อวด
50. จะมีพวกหนึ่งซึ่งเขาจะเรียนอัลกุรอานไม่ใช่เพื่ออัลลอหฺ แต่เพื่อการแข่งขัน
51. เอาอัลกุรอานเป็นเครื่องประกอบทางดนตรี
52. ลูกที่มาจากการผิดประเวณีจะมีเต็มบ้านเต็มเมือง
53. จะมีการแข่งขันกันเรื่องของดุนยา
54. และเมื่อความบริสุทธิ์ต่าง ๆ ถูกทำลาย และมนุษย์แสวงหาแต่ความบาป และความชั่วจะมีอำนาจเหนือความดี สิ่งโกหกจะเป็นสิ่งแพร่ขยาย คนยากจนมีอยู่ทั่ว
55. มนุษย์จะโอ้อวดแต่เครื่องแต่งกาย
56. สิ่งชั่วช้าจะแพร่ขยาย
57. ฝนจะตกนอกฤดู
58. มนุษย์จะเชยชมสิ่งที่เท็จ จะปฏิเสธการตักเตือน
59. มุอ์มินในยุคนั้นจะอยู่อย่างอัปยศ
60. จะมีการกล่าวประณาม ในระหว่างผู้ทำดี
61. คนรวยจะไม่กลัวอะไรนอกจากความจน กลัวถึงขั้นว่าขอทานคนหนึ่ง ที่ขอทานตั้งแต่วันศุกร์หนึ่งจนถึงอีกศุกร์ก็ไม่มีอะไรแม้แต่น้อยในมือของเขา (คนจะไม่มีเมตตาซึ่งกันและกัน)
62. จะมีพวกหนึ่งซึ่งจะขึ้นมาเป็นตัวแทนของประชาชนทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้มีสิทธิหน้าที่ความสามารถ และไม่เคยได้รับความลำบาก (เช่นเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ แทนคนยากจนแต่ตนเองก็ไม่เคยได้รับรู้ถึงความยากจน หรือความยากลำบาก)

สัญญาณเตือนของศาสนาคริสต์
นานาชาติจะเข้าสู่สงคราม จะเกิดการกันดารอาหาร จะมีแผ่นดินไหวหลายแห่ง ทั้งจะเกิดโลกภัยไข้เจ็บแพร่ระบาด จะเกิดมีผู้พยากรณ์เท็จตามที่ต่างๆ ความรักของมนุษย์จะเย็นลง ผู้คนจะเห็นแก่ตัว,เห็นแก่เงิน,หมิ่นประมาทพระเจ้า,อกตัญญู,ไม่รักซึ่ง กันและกัน,ดุร้าย,ไม่มีไมตรีต่อกัน,มีธรรมะแต่ภายนอกแต่ภายในปฏิเสธ มนุษย์จะอยู่ด้วยความกลัว เพราะมืดมน ไม่รู้ทางออก จะมีผู้เผยแพร่พระวจนะของพระเจ้า แจ้งข่าวดีขณะที่ใกล้วันสิ้นโลกจะมีการตกลงกันเพื่อสร้างสันติภาพ จะเกิดความทุกข์ลำบากครั้งใหญ่ การเมือง ศาสนา การค้าของโลกจะเข้าสู่ภาวะวิกฤต และที่สุดก็จะยุติลง โดยการทำลายล้าง ณ อาร์มาเกดดอน เฉพาะแต่คนชั่วจะถูกทำลาย แต่คนที่ผู้ที่เชื่อฟังพระวจนะจะรอด.

สัญญาณเตือนในหลายชนชาติ
วันที่ 22 ธันวาคม 2555 วันโลกาวินาศมหากัปนี้ตามคติในหลายชนชาติ ล้างโลกเพื่อปรับสมดุลของเผ่าพันธุ์มนุษย์โฮโมซาเปียน เผ่าพันธุ์มนุษย์ยินดีกับการเกิดแต่เกลียดชังความตาย จึงหาหนทางที่จะเป็นอมตะประชากรก็มากขึ้นทำให้ทรัพยากรถูกบริโภค และทำร้ายสิ่งแวดล้อมของโลกเมื่อถึงจุดที่จิตใจกำลังมีความตกต่ำ บรรดาพระพุทธเจ้าและพระเจ้าก็มาอุบัติเพื่อปลดปล่อยจิตใจให้เป็นอิสระจากอวิชชา หลุดพ้นจากทุกข์ที่เกิดจากกิเลสบางมหากัปก็ไม่มีพระพุทธเจ้าและพระเจ้ามาอุบัติ และเมื่อถึงวันโลกาวินาศในแต่ละมหากัปก็พยายามจะหาทางรอดจากภัย แทนที่จะปฏิบัติเพื่อปฏิเวชธรรม แต่กลับหาหนทางที่จะอยู่ต่อในวัฏฏะ,
“ศาสดาพยากรณ์ต่างๆ” และจาก โหราจารย์หลายท่าน อาทิ นอสตราดามุส เป็นต้น ในบันทึกที่ นอสตราดามุส ที่มีไปถึงลูกชายที่ชื่อ “ซีซาร์” ว่า “ ก่อนการสิ้นสุดของระบบสุริยะจักรวาล โลกจะท่วมเจิ่งนองไปด้วยน้ำ ระดับของมันจะสูงจนไม่มีแผ่นดินที่ไม่ได้ถูกกลบไปด้วยน้ำ น้ำจะท่วมเป็นเวลานานจนทุกอย่างพินาศหมด ยกเว้นแต่ส่วนที่ไม่ถูกน้ำท่วมก็จะกลายเป็นดินแห้งแข็ง เผ่าพันธุ์ที่หลงเหลืออยู่จะกระเซอะกระเซ้งหนีความตาย แต่ก็คงอยู่ต่อไปอย่างไร้จุดหมาย “
( หน้า 241 ส่องโลกอนาคตล่วงหน้า 2000 ปี กับนอสตราดามุส ศาตราจารย์ เจริญ วรรธนะสิน เขียน สนพ.สารมวลชน พิมพ์ครั้งที่ 3 กรกฏาคม 2533)
......ตลอดจนคำเตือนจากสวรรค์ และคำเตือนจากนรก เรื่องวันทำลายล้างมนุษย์ชาติ วันพิพากษาของพระเจ้า วันที่ไฟบรรลัยกัลป์จะล้างโลก ที่มนุษย์เราได้สร้างความ เลวร้าย สกปรกโสมม เลอะเทอะ วุ่นวาย เพื่อชำระล้างให้หมดไปอีกครั้งหนึ่ง ในอีกไม่ช้านี้
....แน่นอน สิ่งที่จะเกิดขึ้น มิใช่หมายความว่า เมื่อถึงเวลานั้น มันถึงจะเกิดขึ้นทันทีทันใด ปัจจุบันทันด่วน มันก็คงเหมือนการเกิด ภัยธรรมชาติ การเกิดของสงคราม การเกิดวิกฤติการณ์ในสังคม การเกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด การเกิดของพายุทอนาโด หรือการเกิดคลื่นซึนามิ มันไม่สามารถที่จะกำหนด วัน เดือน และศักราชได้อย่างชัดเจน เหมือนอย่างที่ นักวิชาการ หรือนักพยากรณ์หลายท่านพยายามทำกันอยู่ ทั้งนี้ มันต้องเป็นไปตามหลัก "กฎแห่งปฏิจจสมุปบาท" ตามเหตุ ตามปัจจัย ที่จะมาประชุมครบองค์รวม ได้แก่ การที่มนุษย์ทำลายธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ตัดไม้ทำลายป่า สร้างบ้าน แปลงเมือง สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสบาย ที่ต้องเผาผลาญเชื้อเพลิง ฟอสซิลจากใต้พื้นโลก สร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เพื่อผลิตของใช้ ของฟุ่มเฟือยเกินกว่าปัจจัยสี่ ทำกันอย่างฟุ่มเฟือย อย่างโลภโมโทสัน สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสบาย ขึ้นมามากมายเกินกว่าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ทำให้อุณหภูมิของโลกเริ่มร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นเหตุให้เกิดไฟป่าเผาผลาญ ทั้งด้วยตามธรรมชาติ และ โหมเร่งด้วยน้ำมือมนุษย์อีกแรงหนึ่งซ้ำเข้าไปและเมื่อสภาพความเป็นป่าหมดไป คนก็เขาไปบุกรุกสร้างบ้านแปลงเมืองรุกที่ป่าเข้าไปอีก จนเมื่ออุณหภูมิของโลกร้อนขึ้นมากถึงระดับหนึ่ง ทำให้น้ำแข็งที่อยู่ขั้วโลกเริ่มละลาย จากที่เคยมีส่วนช่วย สร้างสมดุลย์ของสภาวะอากาศโลก ชดเชยกับอุณภูมิร้อนแถบเส้นศูนย์สูตร ช่วยทำให้โลกมีความเย็นพอดีไม่ร้อนจนเกินไป และเมื่อน้ำแข็งขั้วโลกละลายมากขึ้น ผืนแผ่นดินใต้ภูเขาน้ำแข็งที่ไม่เคยต้องความร้อนจากดวงอาทิตย์ ก็เริ่มถูกแสงแดดแผดเผา เก็บความร้อนซึมลึกลงสู่ชั้นดินความร้อนเริ่มแผ่กระจายทำละลายน้ำแข็งที่ยังหลงเหลืออยู่ ให้ละลายเร็วขึ้นในอัตราเร่งทวีคูณ อุณหภูมิของโลกก็จะเริ่มร้อนแรงอย่างทวีคูณ ตรีคูณ ไปเรื่อยๆ ปริมาณน้ำจากภูเขาน้ำแข็งที่เคยก่อตัวเป็นภูเขาน้ำแข็งจำนวนมากมายมหาศาล ละลายไหลกระจายตัวถั่งโถม โหมซัดลงสู่มหาสมุทร แม่น้ำ คลอง บึง แผ่นดินทวีปสู่ เมือง น้ำจำนวนมากมายมหาศาลได้เข้าทำลายเมือง สิ่งก่อสร้างที่มนุษย์สร้างมันขึ้นมาด้วยความ โลภโมโทสัน หื่นหิวกระหายอยาก ทั้งอุณหภูมิที่แสนจะร้อนแรง แสงแดดสาดส่องผ่านช่องชั้นบรรยากาศที่ถูกทำลายด้วยคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ที่เกิดจากการปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิดพลังงานแห่งความสุข ความสะดวก ความสบายที่มนุษย์สร้างมันขึ้นมาเพื่อปรนเปรอให้ตนเอง ความร้อนจากดวงอาทิตย์สาดแสงส่งคลื่นความร้อน 20,000 องศาเซ็นเซียส ลงมาแผดเผา ทุกสรรพสิ่งที่มีชีวิต ให้มอดไหม้เป็นจุลจนหมดสิ้น แล้วแต่ว่า เหตุปัจจัยดังที่ได้กล่าว จะเข้ามา ปรุงแต่งจนครบองค์รวม แห่งความวิบัติแห่งมนุษย์ชาติ แต่ก่อนที่มันจะเกิด มันจะต้องมีการส่งสัญญาณแห่งความวิบัติให้รู้สึกได้ ที่ละน้อยๆ ก่อนที่ความวิบัติมันจะเกิดขึ้นจริง ซึ่ง ณ ขณะนี้ การส่งสัญญาณเตือนภัยมันก็ได้ทำหน้าที่ของมันแล้ว

.....คนส่วนใหญ่ มักไม่ค่อยเชื่อ เพราะคิดว่าคำเตือนเหล่านั้น เป็นนิทานหลอกเด็ก ไร้สาระ และไม่คิดว่า มันจะเกิดขึ้นจริง เพราะ ยังไม่มีข้อพิสูจน์ ในทางวิทยาศาตร์ เห็นเป็นรูปธรรมมีแต่เพียงขัอสันณิษฐาน ทางทฤษฎีเท่านั้น
ความไม่เชื่อของคนที่ “คิดว่าตนเองโง่” ก็พอทำเนา เพราะความที่ตนไม่รู้ ก็เลยไม่เชื่อ แต่สามารถ สั่งสอน ชี้แนะได้ แต่ความไม่เชื่อของคนที่คิดว่า “ตนเองรู้”, “ตนเองฉลาด” นี่ซิ น่ากลัว เพราะ นอกจากตัวเองจะยังไม่เชื่อ ไม่ศรัทธาในคำสอนคำเตือนแล้ว ยังพยายาม คิดคำอธิบาย คิดข้อพิสูจน์ ตามภูมิปัญญาของตัวเองที่คิดว่า ตนเองรู้แล้ว มาอธิบายให้คนอื่นๆ เชื่อตามความโง่ของตนเอง ด้วย
....ในครั้งพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงหยิบใบไม้มาหนึ่งกำมือ แล้วตรัสถาม พระอานนท์ ว่า “ พระอานนท์ ใบไม้ในกำมือเรา กับใบไม้ในป่า อย่างไหน มีมากกว่ากัน พระอานนท์ ตอบสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่า “ ใบไม้ในป่ามีมากกว่า ส่วนใบไม้ในกำมือ ของพระองค์มีน้อยกว่าพระเจ้าค่ะ “ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงตรัสว่า “ นั่น แลพระอานนท์ เปรียบดัง ความรู้ที่เรามีอยู่ เปรียบเทียบกับใบไม้ในกำมือของคถาคต ส่วนความรู้ที่เรายังไม่รู้ เปรียบ ดั่งใบไม้ที่อยู่ในป่า ซึ่งยังมีมากมายมหาศาลนัก “
......ข้อนี้ เป็นข้อเตือนใจ สิ่งใดที่เรา ไม่รู้ เราไม่เชื่อ ไม่ใช่ว่า มันจะไม่มี ไม่เกิด หรือไม่จริง หากเรา ยังไม่รู้ ก็อย่าด่วนสรุปว่า มันไม่มี มันไม่จริง และอย่าพยายามใช้ภูมิปัญญาภายใต้สภาวะ วิทยาศาสตร์จิตนิยม มาอธิบาย ให้คนเชื่อตามตน ด้วยมิจฉาทิฐิ ดั่ง กรณี ความวิบัติจากภัย“ซึนามิ” ที่ ภาคใต้ หรือกรณี เกิดภัยพิบัติ น้ำป่าทะลักพาดินโคลน ถล่มท่วม พังไปทั้งเมือง ที่ นักวิชาการหลายท่านไม่เคยเชื่อว่า มันจะไม่เกิดขึ้นในเมืองไทย หรือคำพยากรณ์ และการเตือนภัยจากนักธรณีฯบางคนที่เคยพูดถึงเรื่อง น้ำจะท่วมประเทศไทย หายไป สองในสามส่วน ก็ไม่มีคนอยากเชื่อ ยังมีนักวิชาการบางคนลุกขึ้นมาโต้ตอบ ว่าเป็นไปไม่ได้ แน่นอน
......จึงทำให้ คนตกอยู่ในความประมาท แต่มิได้หมายความว่า จะตกใจตื่นตูม โดยไร้สติ ก็หาไม่
เพื่อเตือนสติมนุษย์เรา ให้ไม่ตกอยู่ในความประมาท บุกรุกตัดไม้ทำลายป่า สร้างบ้านแปลงเมือง รุกรานธรรมชาติ ทำลายสิ่งแวดล้อม อย่างบ้าระห่ำ หลงระเริง มัวเมา อยู่ในกองกิเลส ตัณหา ความสนุกสนานและอบายมุข ทั้งหลายแหล่

.... คลื่นซินามิที่ภาคใต้ของประเทศไทย ใครจะคิดว่า เมืองไทยก็มี หรือว่ามันจะเกิดขึ้นมาได้ แม้แต่ได้มีการเตือนภัยไว้ก่อนแล้ว ก็ยังไม่มีใครเชื่อมิหนำซ้ำยัง ก่นด่ากล่าวโทษสาปแช่งผู้ที่เตือนภัยจนเสียหายเสียผู้เสียคน ก็นั่นงัย ที่ทำให้มีคนตายจำนวนมากมาย

...ทุกวันนี้ ข่าวเรื่อง ภัยธรรมชาติ ภัยพิบัติ และภัยต่างๆที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ด้วยกันเอง มีให้เห็นกันอยู่ทุกวันมิได้ขาด
.......เมื่อเรารู้ได้ดังนี้ แล้ว ...เราจะมีส่วนช่วยกันชะลอ การเกิดความวิบัติให้ช้าลง ช้าลง และหมดไปในที่สุด หรือจะช่วยกันเร่งความวิบัติให้เกิดเร็วขึ้นๆ เรื่อยด้วยความหลงระเริง โลภโมโทสัน แก่งแย่งแข่งขัน กัน ต่อไป หรือ?

.....คำว่า "ความเจริญ " ..... เป็นถ้อยคำที่มีความหมายในทางที่ดี เรามักจะนึกถึงแต่ด้านที่ดี ซึ่งเสมือนจะเป็นความหมายเชิงบวก แต่สภาพความจริงแล้ว ส่วนใหญ่เรามิได้คิดให้ไกลออกไปถึงผลสัมฤทธิ์ที่แท้จริงที่มันจะเกิดขึ้น จากผลแห่งความเจริญ ว่า มันจะส่งผลกระทบในด้านลบอะไร.... สิ่งที่จะเกิดขึ้น มันมีผลเกี่ยวเนื่อง จากความเจริญ.หรือเปล่า. เราลืมไปสิ่งเหล่านั้น แท้จริงแล้วสิ่งที่เราเรียกมันว่าเป็นความเจริญ มันเป็นเพียงความเจริญแต่เฉพาะเพียงด้านวัตถุเพียงอย่างเดียวเท่านั้น มันไม่ได้มีความหมาย รวมไปถึงความเจริญทางด้านจิตใจเลย แต่โดยนัยยะแล้ว เราจะหมายรวมไปว่า จิตใจก็เจริญด้วยที่เราเรียกว่า ชนชาติที่เจริญ(ทางวัตถุ)ว่า "อารยะชน" แต่แท้ที่จริงแล้ว ผิดถนัด หากเราศึกษาประวัติศาสตร์ดูให้ดี เราจะพบว่าหนทางแห่งความเจริญรุ่งเรืองของชนชาติมนุษย์ที่เรียกว่าผู้เจริญ ล้วนแล้วต้องทำสงคราม แย่งชิง ยึดครอง ปล้น ฆ่า ข่มขืน ทำลายล้าง ชนเผ่าอื่นๆที่อ่อนแอกว่าทั้งสิ้น ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว มันกลับเป็นปฏิภาคส่วนกลับเสียด้วยซ้ำไป

... เราส่วนใหญ่มักใช้วิธีการคิด แบบเชิงเดี่ยวอยู่เสมอ จึงทำให้เกิดปัญหา เกิดความขัดแย้งในสังคม ทั้งๆที่เราก็ต่างคิดว่า ตนเองถูก ฝ่ายตรงข้ามผิดอยู่เสมอ การพัฒนาความเจริญก็เช่นกัน เราก็จะคิดแบบเหมารวมว่ารวมถึงความเจริญด้านจิตใจด้วย เลยไม่ได้คำนึงถึง ความเสื่อมทางจิตใจของชุมชนนั้น สังคมนั้น จะเริ่มเกิดมีขึ้นเป็นเงาตามตัว ควบคู่กันอยู่เสมอ ดั่งหนึ่ง มีสีขาวก็ต้องมีสีดำ มีความสว่างก็ต้องมีความมืด มีด้านบวกก็ต้องมีด้านลบ มีสิ่งที่ชอบก็ ต้องมีสิ่งที่ไม่ชอบ และมี สิ่งที่ดีก็ต้องมีสิ่งที่เลว คู่กันอยู่เสมอ นั่นเป็นสัจจธรรมของโลก

.... ถามว่า..เราเคยให้ความสนใจอย่างจริงจังไหมว่า ผลกระทบด้านลบที่จะเกิดขึ้นจากสิ่งที่เราเรียกว่าความเจริญ มันจะส่งผลร้าย อันจะนำมาซึ่งภัยพิบัติต่อชีวิต ทรัพย์สิน ความอยู่รอดของมนุษยชาติ และเราจะป้องกัน แก้ไขกันอย่างไร กับสิ่งที่เราเรียกว่ากันว่าเป็น การสร้างความเจริญ หรือเราคิดว่า เวลาที่มันจะเกิดขึ้น ยังเหลืออีกยาวไกล ในชั่วชีวิตของเรา เราคงไม่ต้องประสบกับมันแน่นอน เข้าหลักที่ว่า "ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา"

บทที่ 2

สายธารแห่งจิตตนิยมทางวิทยาศาสตร์


............. เราคงจะปฎิเสธกระแสคลื่น แห่งความเจริญทางวัตถุ ความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเท็คโนโลยี.. "ที่มนุษย์เราเองสร้างมันไม่ได้ ด้วยความชาญฉลาดมนุษย์และ เพื่อความอยู่รอด การดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์ ที่ไม่หยุดนิ่ง. ความเจริญด้านวัตถุ ได้หลั่งไหลเชี่ยวกราก ถาโถม ซัดสาด ออกมาจากมันสมองของมนุษย์ .. เพราะมันเป็นสัญชาติญาณของมนุษย์ทุกผู้ทุกนามในโลกใบนี้" ที่นอกเหนือจากความต้องการ การอยู่รอด ปลอดภัย.แล้ว มนุษย์ยังมีความต้องการความสุข ความสะดวก ความสบาย ยิ่งๆขึ้นไปอีก "ชาร์ล โรเบิร์ต ดาร์วิน (Charles Robert Darwin) นักวิทยาศาสตร์เอกของโลก ในศตวรรษ ที่ 19 ที่ตีพิมพ์ในหนังสือ กำเนิดพืชและสัตว์ต่าง ๆ (The Original of Species) เมื่อ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2402 ซึ่งอธิบายการกำเนิดของสิ่งมีชีวิตว่ามีวิวัฒนาการจากรูปแบบหนึ่งไปสู่อีกรูปแบบหนึ่ง โดยมีผลมาจากสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ สิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องปรับสภาพตามสภาพแวดล้อม เพื่อการดำรงอยู่ต่อไป โดยเรียกทฤษฎีนี้ว่า การคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection) ได้ ตั้งทฤษฏีไว้ ว่า “ชีวิตดำรงอยู่ด้วยการต่อสู้” “ผู้ที่แข็งแรงกว่า ย่อมมีชีวิตอยู่รอดได้”

....โลกาภิวัฒน์ (GLOBOLIZATION)
........จากคำนิยาม ความหมายของโลกาภิวัตน์ หรือ ภาษาอังกฤษ ว่า “GLOBOLIZATION”
โลกาภิวัตน์ เป็นคำที่แปลมาจากภาษาอังกฤษ Globalization ซึ่งมีผู้รู้ให้ความหมายไว้เฉพาะว่า โลกไร้พรมแดน
……… คำว่าโลกไร้พรมแดน เข้ามาสู่สังคมไทยในยุคที่เรียกว่าไอที (IT = Information Technology) โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ เมื่อมีการเกิดเครือข่ายโทรคมนาคมที่โยงใยทั่วโลกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Internet (International Network )

ภาพความแตกต่างของความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติในหลากหลายสถานที่





........ความเจริญ ทางด้าน วิทยาศาสตร์ และเท็คโนโลยีทุกวันนี้ เรายังสามารถใช้ Internet เป็นช่องทางแห่งการเรียนรู้ การเสาะแสวงหาศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูล ข่าวสาร เปิดโลกทัศน์ให้กว้างไกล ทั้งยังสามารถเสาะแสวงหาเพื่อน โดยไร้ซึ่งขอบเขต พรมแดน แห่งเชื้อชาติ ศาสนา ชนชั้น เพศ วัย ระดับของการศึกษาและภูมิปัญญา โดยไม่เคยรู้จักพบเห็นหน้าเห็นตา ไม่รู้จักกำพืด หัวนอนปลายเท้ากันมาก่อน ดั่งประหนึ่งเพื่อนสนิทชิดเชื้อมาแรมปี การประดิษฐ์คิดค้นเครื่องจักรและเครื่องยนต์เพื่อใช้ในการเดินทาง การคมนาคมขนส่งทั้งโดยทางถนน ทางน้ำ ใต้น้ำ บนอากาศ จนถึง ห้วงอวกาศ ในการเดินทางติดต่อ อำนวยความสะดวก สบายแก่มนุษย์ เหล่านี้นับเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ อำนวยความสะดวก รวดเร็ว มันได้เป็นเครื่องมือในการสรรค์ สร้างสรรพสิ่งต่างๆ และเกิดกิจกรรมไร้พรมแดนมากมาย มันได้สร้าง ความสะดวกสบาย สร้างความสนุกสนานบันเทิง เริงรมย์ต่างๆ แต่มนุษย์ได้สร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาเอง ตามความต้องการอันไม่มีขีดจำกัด เกินกว่าความจำเป็นในการดำรงอยู่อย่างปกติสุขมนุษย์ และไม่มีความพอดีของมนุษย์เอง Read more...


.......เนื่องจาก ความเจริญทางวัตถุ ทางเท็คโนโลยี มนุษย์ได้สร้างมันขึ้นมาเองด้วยฝีมือของมนุษย์เอง ศาสดาทั้งหลาย ได้แต่สอนให้มนุษย์ยึดมั่น มีคุณธรรม จริยธรรม มีศีลมีธรรม การทำความดี การละเว้นความชั่ว การทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว จงมีความรักความเอื้อเฟื้อต่อเพื่อนบ้าน อย่าเบียดเบียนซึ่งกันและกัน การดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย ไม่โลภโมโทสัน เพราะอย่างนั้น มนุษย์ต้องรับผิดชอบในสิ่งมนุษย์สร้างมันขึ้นมาเอง


.........ความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเท็คโนโลยีที่เป็นฝีมือของมนุษย์ มันทำให้มนุษย์เกิดความอหังการ์ เริ่มที่จะท้าทายความเชื่อ ความศรัทธา พระรัตนตรัย ในคำสอนพระเจ้า ปฏิเสธความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และสถาบันที่ควรเคารพบูชา ความเชื่อในเรื่องนรก เรื่องสวรรค์ เทวดา ฟ้าดิน เรื่องของบาปบุญ คุณ โทษ อย่างสิ้นเชิง ยุคแห่งโลกาภิวัฒน์ ได้ทำให้มนุษย์ สามารถติดต่อสื่อสาร เดินทาง สัญจร ได้ทุกที่ทุกเวลา ได้ดังนึก สามารถ บันดาล สรรค์สร้าง อะไรต่อมิอะไรที่ยิ่งใหญ่ เช่นการสร้างยานอวกาศเดินทางออกนอกโลก ไปสู่ห้วงจักรวาล ไปยังดวงดาวที่อยู่ไกลเกินกว่ามนุษย์จะมองเห็นได้ด้วยตา ดุจดั่งคับฟ้า คับจักรวาล หรือจะสร้างอะไรก็ได้ เพียงแต่มีเงินซื้อหา แลกเปลี่ยนเท่านั้น ก็สามารถก้าวทะลุกำแพงแห่งพิภพ กำแพงแห่ง เขื้อชาติ ศาสนา


......ความขัดแย้งในวิธีการคิดของ ศาสนจักร์และวิธีการคิดแบบของนักวิทยาศาสตร์ได้ปรากฏมาตลอดช่วงของพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติ แล้วแต่ฝ่ายใดจะมีอำนาจทางสังคมการเมืองมากกว่ากันในแต่ละยุคสมัยเนื่องจากแรงกดดันกดดันของศาสจักร์ ที่มีอำนาจ มอิทธิพลมากกว่า ในสมัยกลางหรือยุคมืด ถึงกับว่าทางศาสนจักร คือ ทางศาสนาคริสต์นั้นได้ตั้งศาลไต่สวนศรัทธาที่เรียกว่า Inquisition ขึ้นมา เพื่อเอาคนที่แสดงความสงสัยในคัมภีร์ศาสนา หรือพูดจาแสดงความไม่เชื่อในคำสอนของศาสนา ไปขึ้นศาลพิจารณาโทษ ใน ศตรรษ ที่ 16 กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) เกิด ณ เมืองปิซา ประเทศอิตาลี ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2107 (ค.ศ. 1564) – เสียชีวิต ณ เมืออาร์เซทิ (Arcetri) ฟลอเรนซ์ ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2185 (ค.ศ. 1642) กาลิเลโอได้ไปพูดเรื่องโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ขึ้นมา ก็ถูกจับขึ้นศาลไต่สวนศรัทธา หรือ Inquisition นี้ จวนจะถูกบังคับลงโทษให้ดื่มยาพิษ เสร็จแล้วกาลิเลโอสารภาพผิด ก็เลยพ้นโทษไป ก็เลยไม่ตาย แต่อีก ความคิดที่จะพิชิตธรรมชาติ หรือความเข้าใจว่า ความสำเร็จของมนุษย์อยู่ที่การพิชิตธรรมชาติหรือเอาชนะธรรมชาติความคิดนี้เกิดจากการที่ชาวตะวันตกมีความเข้าใจว่า มนุษย์เรานี้ เป็นผู้ที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงสร้างมา ในฉายาของพระองค์ คือในรูปแบบของพระองค์ เสมือนแม้นพระองค์ ให้มาครองโลก ครองธรรมชาติ พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงสร้างธรรมชาติ สร้างสรรพสิ่ง สร้างสรรพสัตว์ทั้งหลาย คือเดรัจฉานต่าง ๆ ขึ้นมานี้ เพื่อให้มารับใช้สนองความปรารถนาของมนุษย์ เพราะฉะนั้นมนุษย์จึงเป็นใหญ่ เป็นศูนย์กลางของจักรวาล เป็นเจ้า เป็นผู้ครอบครอง
....มนุษย์เรียนรู้ความลึกลับของธรรมชาติ ก็เพื่อจะได้มาจัดการกับธรรมชาติ มาปั้นแต่งธรรมชาติให้เป็นไปตามปรารถนาของตนเองตามใจชอบ เรียกว่าให้ธรรมชาติรับใช้มนุษย์

.......ตำราฝรั่งถึงกับบอกว่า แนวความคิดอันนี้แหละที่อยู่เบื้องหลังความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ของตะวันตก เขาบอกว่า แต่ก่อนนี้ในยุคโบราณนั้น ตะวันออก เช่น จีน และอินเดีย มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มากกว่าประเทศตะวันตก แต่ด้วยอาศัยแนวความคิดที่จะพิชิตธรรมชาติอันนี้ จังได้ทำให้ตะวันตกเจริญล้ำหน้าตะวันออกในทางวิทยาศาสตร์มาได้จนปัจจุบัน
........ความเชื่อว่า ความสุขของมนุษย์อยู่ที่การมีวัตถุปรนเปรอพรั่งพร้อม
อันนี้ก็เป็นความคิดที่สำคัญเหมือนกัน แนวคิดนี้พ่วงมากับการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่เดิมนั้น อุตสาหกรรมในประเทศตะวันตกเกิดขึ้นมา จากแรงจูงใจและความคิดในการที่จะแก้ปัญหาความขาดแคลน อันนี้เป็นประวัติศาสตร์ของสังคมตะวันตกเอง คือ การที่จะแก้ปัญหาความขาดแคลน หรือ scarcity เพราะว่าในโลกตะวันตกนั้น ชีวิตถูกบีบคั้นด้วยธรรมชาติมาก เช่น ในฤดูหนาว พืชพันธุ์ธัญญาหารก็ไม่มี เกิดไม่ได้ มนุษย์ต้องอยู่ด้วยความยากลำบากเหลือเกิน นอกจากอากาศหนาวเหน็บแก่ตัวเองแล้ว ยังหาอาหารได้ยากอีกด้วย ทำให้มนุษย์ต้องเพียรพยายามอย่างเต็มที่ที่จะแก้ปัญหาความขาดแคลนนั้น และก็ได้ทำให้เกิดอุตสาหกรรมขึ้นมา

.....ทีนี้ ตรงข้ามกับความขาดแคลนคืออะไร มนุษย์ก็คิดว่า เมื่อแก้ปัญหาความขาดแคลนสำเร็จแล้ว ถ้าเกิดความพรั่งพร้อมมนุษย์ก็จะอยู่เป็นสุขอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้น ความคิดที่อยู่เบื้องหลังความเจริญทางอุตสาหกรรมของฝรั่ง จึงได้แก่ ความคิดที่ว่า จะแก้ปัญหาความขาดแคลน และให้มีวัตถุพรั่งพร้อมเพราะมองไปว่า ความสุขของมนุษย์นั้น จะเกิดขึ้นได้ด้วยการมีวัตถุปรนเปรอพรั่งพร้อมอย่างที่กล่าวเบื้องต้น

.....ต่อมา แนวความคิดนี้ก็พัฒนามาเป็นวัตถุนิยม แล้วก็แปรมาเป็นบริโภคนิยมได้ด้วย แต่ที่สำคัญก็คือความคิดความเข้าใจแบบอุตสาหกรรมนื้ ได้เข้ามาประสานกันกับแนวคิดอย่างที่หนึ่ง
Read more...

..........ในเรื่องของความเชื่อ ความศรัทธาในศาสนา ความเชื่อในเรื่องพระเจ้า มันต้องอยู่ภายใต้ หลักของเหตุผล ตามหลัก “กาลามสูตร”ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่ใช้ความเชื่อ แบบงมงาย และ พอมาถึงยุคที่วิทยาศาสตร์เจริญ แม้วิธีคิดการอธิบายและการพิสูจน์ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เพื่อการหาคำตอบในความขี้สงสัยของมนุษย์ เราก็ยังใช้วิธีคิดแบบเดิม คือใช้ความเชื่อแบบงมงาย พวกนี้แหละก็ คือ พวก ลัทธิวิทยาศาตร์จิตตนิยม ซึ่งมันก็คือ ความคิดยึดมั่นถือมั่นใน ความเชื่อในสิ่งนั้นๆ จนกว่าจะมีการค้นพบ ลบล้าง หลักและทฤษฏีนั้น แบบงมงาย อันไม่ต่างจากวิธีคิด ลิทธิจิตตนิยมนามธรรม เช่น กฏฟิสิกซ์ ของเซอร์ไอแซกนิวส์ตัน ได้ถูกล้บล้างด้วย ทฤษฏีสัมพันธภาพนั่นเอง.

คำว่า จริยธรรม ที่เรามักจะมีการกล่าวอ้างกันอยู่บ่อยๆ แท้ที่จริง แปลว่าอะไร?

เพื่อให้เกิดความชัดเจน ในความหมายของคำว่า จริยธรรม คุณธรรม จึงขอ หยิบยกความหมาย ในมิติต่างๆ มา พิจารณา ดู ว่า โดยนัย คำว่า จริยธรรม มันคืออะไรกันแน่ และทำไม สังคมถึง ต้องเรียกร้องหา จริยธรรม มากขึ้น
ความหมายตามพจนานุกรมในภาษาไทย
“จริยธรรม” หมายถึง “ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี” ตามธรรมเนียมยุโรป อาจเรียก จริยธรรมว่า Moral philosophy (หลักจริยธรรม)
จริยธรรม น. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม [1]
คำว่า “ธรรม” พระเดชพระคุณพระธรรมโกศาจารย์ หลวงพ่อพุทธทาส อินทปัญโญ กล่าวว่า คือ 1. ธรรมชาติ 2. กฎของธรรมชาติ 3. หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ 4. การได้รับผลตามกฎของธรรมชาติ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต ) เพิ่มศัพท์และปรับปรุง พ.ศ. 2427 มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน้า 105) ที่นำเอาความหมายของคำว่า ธรรม ที่ท่านผู้รู้กล่าวไว้มาเสนอมากพอสมควรนี้ก็เพื่อความเข้าใจคำว่า ธรรม ให้มากขึ้น เพราะเป็นคำที่สำคัญที่สุดและคนทั่วไปมักจะเข้าใจเพียงมัวๆเท่านั้น
คำว่า “ธรรม” คือ “สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ สภาวะธรรม, สัจธรรม, ความจริง, เหดุ, ต้นเหตุ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ ฯลฯ
จริยธรรม จึงหมายถึง การดำเนินชีวิต ความเป็นอยู่ การยังชีวิตให้เป็นไป การครองชีวิต การใช้ชีวิต การเคลื่อนไหวของชีวิตทุกด้าน ทุกระดับทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ ทั้งด้านส่วนตัว ด้านสังคม ด้านอารมณ์ ด้านจิตใจ ด้านปัญญาเป็นไปในทางที่ถูกที่ควร
ส่วนคำว่า คุณธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นคุณ ความดีงาม และสภาพที่เกื้อกูล
จริยธรรม คุณธรรม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ตามยุค ตามสมัย ไม่ว่าใครจะ ขึ้นมามีอำนาจทางการเมือง ไม่ว่าใครจะ มีอำนาจทางการปกครอง คำว่า “จริยธรรม และคุณธรรม” ย่อมจะเป็นสิ่งที่ท่านต้องไม่เปลี่ยนแปลง จริยธรรม คือข้อผูกพันที่โยงสัจธรรมนั้นเข้ากับชีวิตและสังคมมนุษย์ สัจธรรม คือความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดา เป็นภาวะของธรรมชาติ
แม่ชีไพเราะ
คุณธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นคุณเป็นสภาวธรรมของคุณงามความดี
จริยธรรม หมายถึงธรรมที่เป็นจริยามารยาท เป็นสภาวธรรมที่ควรประพฤติปฏิบัติ
กระทรวงศึกษา 2532
คุณธรรมหมายถึง สภาพความดีงามทั้งหลาย ซึ่งฝังลึกอยู่ในจิตสำนึกของบุคคล และเป็นคุณสมบัติที่มิอาจหาได้ในสัตว์โลกชนิดอื่น อาจกล่าวได้ว่าคุณธรรมเป็นสมบัติของมนุษย์ชาติโดยเฉพาะ (สนง.พัฒนาคุณธรรม)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต 2545
คุณธรรม หมายถึง สภาพ คุณงาม ความดี
จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม กฎศีลธรรม

ส่วนใน ความหมายจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จริยธรรม เป็นหนึ่งในวิชาหลักของ วิชา ปรัชญา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความดีงามทางสังคมมนุษย์ จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูก และสิ่งไหน ผิด หากจะอธิบายอย่างง่ายๆ แล้ว จริยธรรม หมายถึง “การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว”
“จริยธรรม” มาจากคำ 2 คำคือ จริย + ธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็น
“จริยธรรม” แปลเอาความหมายว่า “กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ ” [2]
พอสรุปสาระแก่นสารของ คำว่า “จริยธรรม “ ก็คือการประพฤติ การปฏิบัติของมนุษย์แต่ในสิ่งที่ดี ด้วย กาย วาจา และใจ ต่อมนุษย์และสัตว์ โดยสอดคล้องกับสภาวะธรรม และหลักแห่งศีลธรรม ซึ่งภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Moral philosophy”
ผู้ที่เข้าไปมีอำนาจรัฐ จึงพยายามแก้ไขกฏหมาย บางอย่างเพื่อ เป็นประโยชน์สำหรับตนและพวกพ้อง และก็ถือว่าไม่ผิดกฏหมาย และก็เลยเหมาแปลเข้าข้างตนเองไปเสียเลยว่า การกระทำของตนไม่ผิดจริยธรรม และสังคมก็เริ่มที่จะสับสนไปเสียแล้วว่า หากไม่มีกฏหมายบัญญัติแม้จะเป็นการเอารัดเอาเปรียบคนจน หรือเอาเปรียบในทางสังคม ก็ถือว่า ไม่ผิดไปเลย ไม่ผิดอะไร ก็คือ ไม่ผิด กฏหมาย แต่ ผิดจริยธรรม คุณธรรม หรือเปล่า ?

ในการปกครองประเทศและการควบคุมในสังคม มีบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ เป็นกฏหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ
ดังปราชญ์ ขงจื้อ ได้วางหลักปรัชญาของนักปกครอง กว่า 20 ศตวรรษ ว่า
“วัฒนธรรม” ความประพฤติ ความจงรักภักดี และ ความซื่อสัตย์ โดยวัฒนธรรมเน้นถึงการเคารพบรรพบุรุษและพิธีการโบราณ ยึดถือผู้อาวุโสเป็นหลัก แต่ไม่ยึดติดหรืออายที่จะหาความรู้จากคนที่ต่ำชั้นหรืออายุน้อยกว่า
แปดหลักการพื้นฐานในการเรียนรู้
ได้แก่ สำรวจตรวจสอบ ขยายพรมแดนความรู้ จริงใจ แก้ไขดัดแปลงตน บ่มความรู้ ประพฤติตามกฎบ้านเมือง ประเทศต้องได้รับการดูแล นำความสงบสุขมาสู่โลก
ลำดับการเรียนรู้
ได้แก่ พิธีกรรม ดนตรี ยิงธนู ขี่ม้า ประวัติศาสตร์ และ คณิตศาสตร์
คุณธรรมทั้งสาม
ที่ได้จากการเรียนรู้ ได้แก่ ภูมิปัญญา เมตตากรุณา และความกล้าหาญ
สี่ขั้นตอนหลักการสอน
ได้แก่ ตั้งจิตใจไว้บนมรรควิธี ตั้งตนในคุณธรรม อาศัยหลักเมตตาเกื้อกูล สร้างสรรค์ศิลปะใหม่
สี่ลำดับการสอน

ขงจื้อ (จีน: 孔子 ; อังกฤษ: Confucius ; ภาษาไทยมีเรียกกันหลายชื่อ เช่น ขงฟู่จื่อ ขงจื่อ คงฉิว หรือ คงซ้งนี) (ตามธรรมเนียม, 8 กันยายน 551 ปีก่อน ค.ศ. - 479 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นนักคิดและนักปรัชญาสังคมที่มีชื่อเสียงของจีน คำสอนของขงจื๊อนั้น ฝังรากอิทธิพลลึกลงไปในสังคมเอเชียตะวันออกมาเป็นเวลาถึง 20 ศตวรรษ หลักปรัชญาของขงจื๊อนั้นเน้นเกี่ยวกับศีลธรรมส่วนตัว และศีลธรรมในการปกครอง ความถูกต้องเหมาะสมของความสัมพันธ์ในสังคม และ ความยุติธรรมและบริสุทธิ์ใจ
อะไรคือสิ่งที่ดี อะไรคือสิ่งที่เลว?
มนุษย์ หนอมนุษย์ ต้องยอมรับกันได้แล้วว่า มาตราฐานความดี ความเลวของมนุษย์ มันจะเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงไป ตามกาลเวลา
ยิ่งความเจริญทางวัตถุมากเท่าไร มาตราฐาน ความ ดี ความเลว ก็จะลดลงเท่านั้น จริงหรือไม่จริง ?
เช่น การออกกฏหมายทำแท้งเสรี กฏหมายอนุญาตให้ฆ่าสัตว์ได้ และกฏหมาย อื่นๆที่ เอื้ออำนวยประโยชน์ให้เฉพาะบางกลุ่ม เป็นต้น
โลกเราทุกวันนี้ ปัญหารอบตัวเรามากมายนัก เสมือนนักมวยชกมวยบนสังเวียน ย่อมมึนงง เมาหมัด จนลืมอะไรต่อมิอะไรไปหมด ว่า ปัญหาต่างๆรอบตัวเรา มันเกิดจากอะไร ปัญหาโลกร้อนคือ ตัวอย่างหนึ่งที่มนุษย์เราประสพ

เนื่องจาก คำว่า ศาสนา มีความหมาย ที่อาจจะดูสูงส่งเกินไปกว่าที่ เราจะนำมาใช้อ้างอิงสอนมนุษย์ในทุกวันนี้ เพราะ ความเชื่อ ทัศนคติ และปัจจัยแวดล้อม รอบตัวมนุษย์ มันซับซ้อน ซ่อนเงื่อน เกินกว่าที่ มนุษย์จะ สัมผัสจับต้องได้ ในยุคนี้ในสมัยนี้ เสียแล้ว
ดังนั้น สิ่งที่พอที่จะหยิบยก กล่าวอ่างได้พอที่มนุษย์จะสัมผัสจับต้องได้ ก็คงเหลือ อยุ่แต่ คำว่า “คุณธรรม จริยธรรม” เท่านั้นเอง และ กฏหมาย ก็เป็นเครื่องมือ และถึงแม้จะมีกฏหมาย เป็นเครื่องมือทางสังคม ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา แล้วแต่สภาพแวดล้อม แล้วแต่ผู้มีอำนาจ ทางการเมือง ในแต่ละยุด แต่ละสมัยที่จะนำมาใช้เป็น กรอบในการบริหารชาติ บ้านเมือง ที่ รายล้อมไปด้วย สภาพแวดล้อม ที่เต็มไปด้วยการ แข่งขัน ต่อสู้ ชิงไหว ชิงพริบ จนเรียกว่า กระพริบตา กันไม่ได้ เลย นั่นคือ เหตุผล ที่ถูกต้องจริงหรือไม่เพียงใด ศาสนา อยู่ในระดับที่สูงเกินกว่า ที่มนุษย์ส่วนใหญ่จะ รับได้
การใช้คำว่า คุณธรรม จริยธรรม ความหมาย ทั่วไปในปัจจุบัน ดังเราจะเห็นว่า มนุษย์เราเริ่มเรียกร้องหา จริยธรรม คุณธรรมกันมากยิ่งขึ้น แต่ผู้ที่ถูกกล่าวอ้างว่า ไม่มี คุณธรรม จริยธรรม ส่วนใหญ่ก็มักจะปฏิเสธ และก็เชื่อว่าตนเองมีคุณธรรม จริยธรรม ตนเป็นคนดี ปัญหาอยู่ที่ว่า แล้วที่จริงแล้วเขาเป็นคนดีจริงหรือไม่ ผู้ที่ถูกกล่าวอ้าง มีคุณธรรมจริงหรือไม่ เพียงใด ใครผิด ใครถูก? เอาอะไรเป็นมาตราฐาน เป็นมาตรวัด
ก็เพราะ มันเกิดความเหลื่อมล้ำ ต่ำสูง ในทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ แน่นอน ผู้ที่ได้เปรียบย่อมไม่ เรียกร้องหา ความยุติธรรม มีแต่ผู้ที่เสียเปรียบ และถูกเอารัดเอาเปรียบนั้นย่อมจะต้องเรียกร้องโหยหา ความยุติธรรม เรียกร้องโหยหา ความมีคุณธรรม ความมีจริธรรมจากสังคม และแน่นอน ผู้ที่ เสียเปรียบในทางสังคม ย่อมมากกว่า ผู้ที่ได้เปรียบ ดังนั้น พวกที่เสียเปรียบ จึงต้องมีการ ต่อสู้เรียกร้อง หากไม่ได้ ด้วยความสันติ ก็ต้องมีการต่อสู้ใช้ความรุนแรง เป็นธรรมดาตามกฏธรรมชาติ

หากว่ากฏหมาย ไม่เป็นธรรม ไม่ยุติธรรม สำหรับคนเอื้ออำนวยประโยชน์สุขสำหรับคนส่วนใหญ่ของประเทศ เสียแล้ว สังคมก็จะต้องเกิดวิกฤติ คนส่วนใหญ่ก็จะต้องลุกขึ้นมาต่อต้าน ลุกฮือ ขึ้นต่อสู้ ไม่ว่าจะโดย สันติวิธี หรือโดยการใช้ความรุนแรง
ดังปรากฏการณ์การปฏิวัติในโซเวียสรัสเซีย ที่ประชาชนลุกฮือขึ้นมา ล้มล้างระบบการปกครองของพระเจ้าซาร์ ดังเช่นการทะลาย คุกบัสติน ในฝรั่งเศส ถ้าหากว่า ผู้มีอำนาจ เป็นผู้ออกกฏหมาย ก็ดัง ที่ สตาลิน ได้เคยกล่าวไว้ว่า “ ชนชั้นใดเป็นผู้ออกกฏหมาย ก็เพื่อผลประโยชน์ของชนชั้นนั้น “ จาก “คำประกาศแห่งความเสมอภาค ( The Communist Manisfesto) ของมาร์กซ และแองเกลส์
ดังนั้นหากสังคม ผู้ปกครองเริ่มเป็นทรราช เป็นเผด็จการ ก็แสดงว่าได้เกิดการขาดคุณธรรม จริยธรรมเสียแล้ว หรือเกินกว่าระดับศีลธรรมที่อาจสูงเกินไป จึงต้องเรียกร้องโหยหา คุณธรรม จริยธรรม
ที่กำลังจะกล่าวนี้ เป็นความหมาย เป็นคุณค่าในความคิด ความเข้าใจ ของใครต่อใคร ของผู้คนในยุคปัจจุบัน ไม่ใช่เพื่อที่จะชี้ให้เห็นว่า เดี๋ยวนี้ระดับคุณธรรม จริยธรรมที่มักจะกล่าวอ้าง ยึดถือ ของคน มันเปลี่ยนแปรไปเสียแล้ว

ที่เป็นดังนี้ ถามว่า เพราะอะไร ? อะไรสาเหตุ ?

สาเหตุก็เพราะ สังคมเราเริ่มขาดดุลยภาพ ในทางเศรษฐกิจ ในทางการเมือง ช่องว่างระหว่าง มนุษย์ด้วยกันเองในชนชั้นต่างๆ เริ่มห่างกันมากขึ้น
เพราะ สังคมมันได้เริ่มเกิดการ เอารัดเอาเปรียบ แก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่นกันใช่ไหม? มันเริ่มเกิดช่องว่าง ความแตกต่าง ในเรื่อง โอกาสกันเสียแล้ว
มาตราฐานของ จริยธรรม คุณธรรม เริ่ม เปลี่ยนแปลง ไปตามยุคสมัย
ซึ่งที่ถูกที่ควรแล้ว จริยธรรม คุณธรรม ก็ต้องอยู่ภายใต้ ความจริงสูงสุด ความดี สูงสุดอยู่นั่นเอง ไม่เปลี่ยนแปรไปตามยุคสมัย
จึงอาจจะกล่าวได้ว่า การใช้คำว่า จริยธรรม คุณธรรม ควรคำนึงถึง ความหมาย ตามมิติต่างๆ ในสังคม ในความหมายเชิงอุดมคติ ในมิติทางศาสนา กับ ในมิติ สังคม การเมือง ในมิติ ทางเศรษฐกิจ ก็คง เป็นอีกแบบหนึ่ง

โลกยิ่งเจริญทางวัตถุมากขึ้น ระดับจริยธรรม คุณธรรม ก็จะลดต่ำลง

มนุษย์มักจะมีเหตุผล คำอธิบายในการละเมิดกฏแห่ง จริยธรรม คุณธรรม เสมอ และคำว่า จริยธรรม คุณธรรม ก็คงเป็นปราการด่านสุดท้ายของความดีที่ถูกกล่าวอ้าง หลักและมาตราฐานของการอยู่ร่วมกันได้ของมนุษย์เรา
ถามว่า ทำไม ยังคงต้องมีการเรียกร้องหา จริยธรรม คุณธรรม กันเล่า ในเมื่อมนุษย์เรา เชื่อแต่โลกของวัตถุ ที่อยู่ใกล้ตัว เชื่อแต่ในเรื่อง ผลที่จะได้ เท่าที่เห็นได้เท่านั้น
คำตอบต่อคำถามนี้ ก็คือ นอกเหนือจาก ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมแล้ว กฏหมายเป็นสิ่งสุดท้ายที่สังคมจะต้องมีจึงได้บัญญัติขึ้น ในเมื่อมนุษย์ไม่เชื่อเรื่องนรกสวรรค์
กฏหมายจึงเป็นเครื่องมือทางสังคม ที่เหลืออยู่ รองจาก คุณธรรม จริยธรรม ดังที่ได้กล่าวข้างต้น อันที่จะช่วยทำให้สังคมมนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสันติและผาสุข และเป็นเครื่องช่วยคุ้มครองผู้ที่อ่อนแอกว่า ไม่ให้ถูก ข่มเหงรังแก เบียดเบียน

อะไรจะเกิดขึ้นกับโลกหาก คนขาดจริยธรรม คุณธรรม ?

ดังคำบรรยายธรรมของท่านพุทธทาส ในโอกาสที่ท่านมีอายุครบ 7 ทศวรรษ เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2519 ใน หัวข้อการแสดงธรรมคือ "โลกวิปริต" จะว่าไปแล้วนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ท่านเตือนให้เราตระหนักถึงปัญหาความวิปริตของโลก แต่ในการบรรยายธรรมครั้งนั้นท่านได้แจกแจงสภาพการณ์และสาเหตุของความวิปริตดังกล่าวไว้อย่างละเอียด ซึ่งกล่าวโดยสรุปก็คือ โลกนี้วิปริตเพราะการคลาดเคลื่อนออกจากหลักธรรม จนตกเข้าไปเป็นทาสของวัตถุนิยม ด้วยเหตุนี้ท่านจึงเรียกร้องให้ชาวพุทธทั้งหลายพยายามเข้าถึงหัวใจของพุทธศาสนาเพื่อพาตนให้หลุดพ้นจากอำนาจของวัตถุนิยม ขณะเดียวกันก็ช่วยกันนำศีลธรรมกลับมา เพราะ "ถ้าศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ”